ทิศทางการพัฒนาการศึกษาเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาหนองคาย ( ปีการศึกษา 2564 – 2565 )

กลยุทธ์ที่ 1 สร้างนวัตกรรมการบริหารโรงเรียนด้วยวิถีใหม่วิถีคุณภาพ

  • เป้าประสงค์ 1.สถานศึกษามีนวัตกรรมบริหารจัดการคุณภาพด้วยวิถีใหม่วิถีคุณภาพ
    ตัวชี้วัด 1.ร้อยละของสถานศึกษาที่มีนวัตกรรมการบริหารจัดการเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียนเป็นรายบุคคล
    ตัวชี้วัด 2.ร้อยละของสถานศึกษาที่ใช้นวัตกรรมการบริหารจัดการเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียนเป็นรายบุคคล

  • เป้าประสงค์ 2.พัฒนาระบบบริหารจัดการโดยยึดหลักธรรมาภิบาล
    ตัวชี้วัด 1.ร้อยละของสถานศึกษาที่สร้างเสริมธรรมาภิบาลด้วยวิถีใหม่วิถีคุณภาพ
    ตัวชี้วัด 2.ร้อยละของสถานศึกษาที่ผ่านการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ ระดับ AA

  • เป้าประสงค์ 3.พัฒนาระบบประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา
    ตัวชี้วัด 1.ร้อยละของสถานศึกษาที่จัดให้มีการพัฒนาระบบประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา
    ตัวชี้วัด 2.ร้อยละของสถานศึกษาที่มีผลการประเมินคุณภาพภายในระดับดีเลิศ และผลการประเมินคุณภาพภายนอกระดับดีมาก

  • เป้าประสงค์ 4.สถานศึกษาจัดกิจกรรมลูกเสือเพื่อปลูกฝังระเบียบวินัยและกฎเกณฑ์การอยู่ร่วมกัน
    ตัวชี้วัด 1.ร้อยละของสถานศึกษาจัดกิจกรรมลูกเสือและผ่านเกณฑ์ประเมินการจัดกิจกรรมลูกเสือดีเด่น
    ตัวชี้วัด 2.ร้อยละของผู้บริหาร ครูและบุคคลากรได้รับการประเมินเป็นผู้บังคับบัญชาลูกเสือดีเด่น

  • เป้าประสงค์ 5.สถานศึกษาพัฒนาโรงเรียนเพื่อเข้ารับการประเมินรับรางวัลพระราชทาน
    ตัวชี้วัด 1.ร้อยละของสถานศึกษาที่พัฒนาโรงเรียนและพัฒนาผู้เรียนเพื่อรับรางวัลพระราชทาน
    ตัวชี้วัด 2.ร้อยละสถานศึกษาที่ได้รับรางวัลโรงเรียนพระราชทาน
    ตัวชี้วัด 3.ร้อยละของสถานศึกษาที่ได้รับรางวัลนักเรียนพระราชทาน

กลยุทธ์ที่ 2 บริหารจัดการโดยใช้สหวิทยาเขต ศูนย์พัฒนาวิชาการกลุ่มสาระการเรียนรู้
และกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน เป็นฐานในการยกระดับผลสัมฤทธิ์

  • เป้าประสงค์ 1.มีคณะอนุกรรมการยกระดับผลสัมฤทธิ์รายกลุ่มสาระการเรียนรู้ระดับสหวิทยาเขต ครบ 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ และกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน
    ตัวชี้วัด 1.ร้อยละของผู้บริหาร ครูและบุคลากรที่ได้รับการแต่งตั้งเป็นคณะอนุกรรมการยกผลสัมฤทธิ์ระดับสห วิทยาเขต
    ตัวชี้วัด 2.ร้อยละของผู้บริหาร ครูและบุคลากรที่ได้รับการพัฒนาการยกระดับผลสัมฤทธิ์โดยใช้สหวิทยาเขตเป็นฐาน

  • เป้าประสงค์ 2.มีคณะกรรมการศูนย์พัฒนาวิชาการกลุ่มสาระการเรียนรู้ครบ 8 สาระการเรียนรู้ และกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน
    ตัวชี้วัด 1.ร้อยละของผู้บริหาร ครูและบุคลากรที่ได้รับแต่งตั้งเป็นคณะกรรมการศูนย์พัฒนาวิชาการกลุ่มสาระการเรียนรู้
    ตัวชี้วัด 2.ร้อยละของผู้บริหาร ครูและบุคลากรที่ได้รับการพัฒนาการยกระดับผลสัมฤทธิ์ระดับศูนย์พัฒนาวิชาการกลุ่มสาระการเรียนรู้

กลยุทธ์ที่ 3 พัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาสู่การปฏิบัติจริงเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียนเป็นรายหน่วยสู่มาตรฐานสากล

  • เป้าประสงค์ 1.ยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนเป็นรายหน่วยการเรียนรู้
    ตัวชี้วัด 1. ร้อยละของผู้บริหาร ครูและบุคลากรที่ได้รับการพัฒนาการยกระดับผลสัมฤทธิ์รายหน่วย
    ตัวชี้วัด 2. ร้อยละของครูและบุคลากรที่จัดการเรียนการสอนและวัดประเมินผลเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์รายหน่วย
    ตัวชี้วัด 3. ร้อยละของผู้เรียนได้รับการพัฒนาการยกระดับผลสัมฤทธิ์รายหน่วย

  • เป้าประสงค์ 2.พัฒนาผู้เรียนให้มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามหลักสูตร
    ตัวชี้วัด 1. ร้อยละของสถานศึกษาที่จัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามหลักสูตร
    ตัวชี้วัด 2.ร้อยละของผู้เรียนที่มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามหลักสูตร

  • เป้าประสงค์ 3.พัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาสู่มาตรฐานสากล
    ตัวชี้วัด 1. ร้อยละของสถานศึกษาที่มีหลักสูตรสถานศึกษามาตรฐานสากล
    ตัวชี้วัด 2.ร้อยละของโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการและผ่านการประเมินเป็นโรงเรียนมาตรฐานสากลระดับ ScQA
    ตัวชี้วัด 3. ร้อยละของครูผู้สอนได้รับการพัฒนาการออกแบบหน่วยการเรียนรู้สู่การปฏิบัติ
    ตัวชี้วัด 4. ร้อยละของครูผู้สอนที่ออกแบบหน่วยการเรียนรู้สู่การปฏิบัติ

กลยุทธ์ที่ 4 สร้างภาคีเครือข่ายขยายชุมชนแห่งการเรียนรู้

  • เป้าประสงค์ 1.สถานศึกษาพัฒนาวิทยฐานะผู้บริหาร ครูและบุคลากรทางการศึกษาให้สูงขึ้น
    ตัวชี้วัด 1. ร้อยละของผู้บริหารที่ได้รับการพัฒนาวิทยฐานะในตำแหน่งที่สูงขึ้น
    ตัวชี้วัด 2. ร้อยละของครูและบุคลากรที่ได้รับการพัฒนาวิทยฐานะในตำแหน่งที่สูงขึ้น

  • เป้าประสงค์ 2.สถานศึกษาจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุมชนเป็นฐาน
    ตัวชี้วัด 1. ร้อยละของสถานศึกษาที่จัดการเรียนรู้โดยใช้ชุมชนเป็นฐาน
    ตัวชี้วัด 2.จำนวนของแหล่งเรียนรู้ที่โรงเรียนสร้างเครือข่ายและทำข้อตกลงร่วมกันกับชุมชน ท้องถิ่น และภาคเอกชน
    ตัวชี้วัด 3.ร้อยละของผู้เรียนที่จัดทำโครงงานอาชีพกับชุมชน ท้องถิ่น และภาคเอกชน

  • เป้าประสงค์ 3.สถานศึกษาจัดให้มีการวิจัยเพื่อปรับปรุงผลการเรียนของผู้เรียน
    ตัวชี้วัด 1. ร้อยละของสถานศึกษาจัดให้มีการพัฒนาผู้บริหาร ครูและบุคลากรทางการศึกษาในการวิจัยเพื่อปรับปรุงผลการเรียนของผู้เรียน
    ตัวชี้วัด 2. ร้อยละของสถานศึกษาที่จัดให้มีการวิจัยเพื่อปรับปรุงผลการเรียนของผู้เรียน

  • เป้าประสงค์ 4.สถานศึกษาพัฒนาผู้บริหาร ครูและผู้เรียนให้สามารถสร้างแพลตฟอร์มการเรียนรู้ดิจิทัล
    ตัวชี้วัด 1. ร้อยละของสถานศึกษาที่พัฒนาผู้บริหาร ครูและผู้เรียนให้สามารถสร้างแพลตฟอร์มการเรียนรู้ดิจิทัล
    ตัวชี้วัด 2. ร้อยละของผู้บริหาร ครูและผู้เรียนที่สร้างแพลตฟอร์มการเรียนรู้ดิจิทัลได้

กลยุทธ์ที่ 5 สร้างโอกาสบูรณาการศาสตร์พระราชาสู่การพัฒนาผู้เรียน

  • เป้าประสงค์ 1.สถานศึกษาพัฒนาผู้บริหาร ครูและผู้เรียนในการจัดการเรียนรู้บูรณาการตามศาสตร์พระราชา
    ตัวชี้วัด 1.ร้อยละของผู้บริหาร ครูและบุคลากรได้รับการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ตามศาสตร์พระราชา
    ตัวชี้วัด 2.ร้อยละของสถานศึกษาที่นำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงดำเนินการในสถานศึกษา
    ตัวชี้วัด 3.ร้อยละของผู้เรียนได้รับการพัฒนาการจัดการเรียนรู้บูรณาการตามศาสตร์พระราชาในทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้

  • เป้าประสงค์ 2.สถานศึกษาเปิดสอนวิชาชีพที่หลากหลายเพื่อให้ผู้เรียนเลือกเรียนตามความถนัดและความสนใจ
    ตัวชี้วัด 1.ร้อยละของสถานศึกษาที่เปิดสอนวิชาชีพที่หลากหลายมากกว่า 1 วิชาชีพ
    ตัวชี้วัด 2.ร้อยละของครู และบุคลากรทางการศึกษาที่เป็นครูที่ปรึกษาวิชาชีพในสถานศึกษาอย่างน้อย 1 วิชาชีพ
    ตัวชี้วัด 3.ร้อยละของผู้เรียนที่เข้าร่วมกิจกรรมวิชาชีพในโรงเรียนอย่างน้อย 1 วิชาชีพ
    ตัวชี้วัด 4.ร้อยละของผู้เรียนที่จัดทำโครงงานอาชีพในโรงเรียนอย่างน้อย 1 โครงงาน

กลยุทธ์ที่ 6 พัฒนาผู้บริหาร ครู และผู้เรียนรู้สู่ความเป็นเลิศในประชาคมอาเซียน

  • เป้าประสงค์ 1.สถานศึกษา ผู้บริหาร ครูและผู้เรียนมีขีดความสามารถในการแข่งขันในระดับชาติและระดับนานาชาติ
    ตัวชี้วัด 1.ร้อยละของสถานศึกษาที่ได้รับรางวัลระดับชาติและระดับนานาชาติ
    ตัวชี้วัด 2.ร้อยละของผู้บริหารสถานศึกษาที่ได้รับรางวัลระดับชาติและระดับนานาชาติ
    ตัวชี้วัด 3.ร้อยละของครูและบุคลากรที่ได้รับรางวัลระดับชาติและระดับนานาชาติ
    ตัวชี้วัด 4.ร้อยละของผู้เรียนที่ได้รับรางวัลระดับชาติและระดับนานาชาติ
    ตัวชี้วัด 5.ร้อยละของผู้เรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 และชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6ที่เข้าร่วมการทดสอบระดับชาติ (O-NET)
    ตัวชี้วัด 6.ร้อยละของผู้เรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 และชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ที่ได้คะแนนเต็มร้อยในการทดสอบระดับชาติ (O-NET)